![]() |
|
แนวทางการทําเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง ระบบเกษตรกรรมที่จะนำไปสู่การเกษตรยั่งยืน โดยมีรูปแบบที่ดำเนินการมีลักษณะใกล้เคียงกัน และทำให้ ผู้ปฏิบัติมีความสับสนในการให้ความหมายและวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง ได้แก่ระบบเกษตรผสมผสานและระบบ ไร่นาส่วนผสม ในที่นี้จึงขอให้คำจำกัดความรวมทั้งความหมายของคำทั้ง 2 คำ ดังต่อไปนี้ ระบบเกษตรผสมผสาน (Integrated Farming System) เป็นระบบการเกษตรที่มีการเพาะปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกันภายใต้การเกื้อกูล ประโยชน์ต่อกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาศัยหลักการอยู่รวมกันระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อมการอยู่รวมกันอาจจะอยู่ในรูปความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับพืช พืชกับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ก็ได้ ระบบเกษตรผสมผสานจะประสบผลสำเร็จได้ จะต้องมีการวางรูปแบบ และดำเนินการ โดยให้ความสำคัญต่อกิจกรรม แต่ละชนิดอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม มีการใช้แรงงาน เงินทุน ที่ดิน ปัจจัย การผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนรู้จักนำวัสดุเหลือใช้จากการผลิตชนิดหนึ่งมาหมุนเวียนใช้ประโยชน์กับการผลิตอีกชนิดหนึ่งกับการผลิตอีกชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดภายในไร่นาแบบครบวงจร ตัวอย่างกิจกรรมดังกล่าว เช่น การเลี้ยงไก่ หรือสุกรบนบ่อปลา การเลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงผึ้งในสวนผลไม้ เป็นต้น ตามแนวคิดดังกล่าวมีหลักการพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ1) ต้องมีกิจกรรมการเกษตรตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้นไป 2) ต้องเกิดการเกื้อกูลประโยชน์ระหว่างกิจกรรมต่างๆ ระบบไร่นาสวนผสม (Mixed/Diversefied/Polyculture Farming System) เป็นระบบการเกษตรที่มีกิจกรรมการผลิตหลาย ๆ กิจกรรมเพื่อตอบสนองต่อการบริโภคหรือลดความเสี่ยงจากราคา ผลิตผลที่มีความไม่แน่นอนเท่านั้น โดยมิได้มีการจัดการให้กิจกรรมการผลิตเหล่านั้นมีการผสมผสานเกื้อกูลกันเพื่อ ลดต้นทุนการผลิต และคำนึงถึงสภาพแวดล้อมเหมือนเกษตรผสมผสานการทำไร่นาสวนผสมอาจมีการเกื้อกูลกันจาก กิจกรรมการผลิตบ้าง แต่กลไกการเกิดขึ้นนั้นเป็นแบบ “เป็นไปเอง” มิใช่เกิดจาก “ความรู้ ความเข้าใจ” อย่างไร ก็ตามไร่นาสวนผสม สามารถพัฒนาความรู้ความสามารถของเกษตรกรผู้ดำเนินการให้เป็นการดำเนินการในลักษณะ ของระบบเกษตรผสมผสานได้เหตุผลที่มาของรูปแบบการเกษตรผสมผสานได้ |
|
![]() |
หนทางที่แสนยาวไกลของชีวิตมันจะไม่ยากเลยสักนิดหากคิดและทำให้รอบคอบตามรอยในหลวง รัชกาลที่ 9 สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราเคยมองเห็น เคยได้ยิน เคยคิด และเคยพูดอยู่บ่อย ๆ แต่ก็ยังไม่เคยลงมือ "ทำ" ฉะนั้นหนทางมันจึงดูยากเย็นไปโดยปริยาย ดังนั้นวันนี้กระปุกดอทคอมจะพิสูจน์ให้เห็นว่าแนวทางพอเพียงนั้นเป็นเรื่องง่ายที่ทุกคนทำได้ ด้วยทริคการทำสวนแบบพอเพียงที่ประยุกต์มาจาก "เกษตรทฤษฎีใหม่" ซึ่งในหลวง รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานพระราชดำรัสไว้เพื่อให้เกษตรกรอยู่แบบพึ่งพาตนเองได้ในทุกสถานการณ์ ด้วยวิธีการจัดการทรัพยากรให้คุ้มค่าอย่างยั่งยืน แบ่งพื้นที่ในสวนให้เหมาะสมและคุ้มค่า ก่อนอื่นเราต้องสำรวจพื้นที่ในสวนให้ถี่ถ้วนด้วยการตรวจสภาพดิน ทิศทางแสงแดด และลม จากนั้นก็เริ่มแบ่งพื้นที่ในสวนตามเกษตรทฤษฎีใหม่จากสูตร 30:30:30:10 ให้ง่ายและเหมาะสมกับพื้นที่ของเราเอง โดยปรับเป็นโซนแปลงผักสวนครัว โซนสมุนไพร โรงเรือนเห็ด ฟาร์มสัตว์เล็ก ๆ (เล้าไก่หรือฟาร์มไส้เดือนไซส์มินิ) และบ่อน้ำหลัก แต่ถ้าหากพื้นที่คับแคบเกินไปก็ไม่จำเป็นจะต้องแบ่งตามนี้ทุกประการ เลือกเฉพาะโซนที่เหมาะสมกับบ้านเราเท่านั้นก็ได้ |
DIY ระบบน้ำฉบับบ้าน ๆ ของคนรักสวน จากแนวคิดระบบการจัดการน้ำของในหลวง รัชกาลที่ 9 ทำให้เราได้เรียนรู้เรื่องน้ำมากขึ้นและสามารถนำไปปรับใช้ในสวนได้อย่างเหมาะสม ด้วยการขุดบ่อน้ำหลักเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในสวนและต่อท่อไปยังแปลงปลูกทั้งหมดที่มี หรืออาจจะส่งตรงไปยังพืชที่ต้องการน้ำมากอย่างเดียวก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังสามารถเลี้ยงปลาไว้เป็นอาหารหรือปลูกพืชน้ำอย่างผักกระเฉดในบ่อได้อีกด้วย |
|
![]() |
ปรับดินให้มีคุณภาพด้วยการรับแสงแดดไม่ต้องฟุ่มเฟือยเพื่อบำรุงใหม่
หากพบว่าสภาพดินในสวนไม่เอื้ออำนวยให้ปลูกพืชเท่าไร แนะนำให้พรวนดินและเปิดหน้าดินรับแสงแดดโดยตรง เพราะแสงแดดจะช่วยปรับสภาพดินให้มีสารอาหารที่เหมาะสมกับพืชหรือจะทำการผสมดินในขั้นตอนไปพร้อมๆ กันเลยก็ได้ ความชุ่มชื้นของดินคือสิ่งที่ต้องรักษา อีกหนึ่งวิธีการทำสวนให้พอเพียงนั้นก็คือการรักษาความชุ่มชื้นของดินเอาไว้ หากเราปล่อยปละละเลยเรื่องเล็ก ๆ อย่างนี้ไปรับรองว่าคุณต้องนอนก่ายหน้าผากบนกองบิลค่าน้ำเป็นแน่ มาเริ่มกันที่วิธีแรกด้วยการรองใต้กระถางด้านในด้วยกระดาษทิชชู แพมเพิร์สชิ้นใหม่ หรือเสื้อถักไหมพรมตัวเก่าเอามาคลุมหน้าดินด้วยแกลบและปลูกหญ้าแฝกไว้รอบ ๆ สวน วิธีทั้งหมดนี้จะช่วยกักเก็บน้ำไว้ในดินได้อย่างเหมาะสมและส่งผลให้พืชพรรณเจริญเติบโตออกดอกออกผลอย่างสวยงาม |
![]() |
ปลูกผักสวนครัวตามฤดูกาลให้มีกินตลอดทั้งปี สภาพอากาศตามฤดูกาลคือปัจจัยหลักที่ทำให้สวนอุดมสมบูรณ์พร้อมใช้งาน ดังนั้นเราจึงควรหันมาปลูกพืชให้ตรงกับฤดูกาลเพื่อให้มีกินมีใช้ได้ตลอดทั้งปีกันดีกว่า- ฤดูร้อนควรปลูกมะระ, บวบ, ผักชี, น้ำเต้า, ผักกาดหอม, ข้าวโพดหวาน หรือถั่วฝักยาว - ฤดูฝน (ช่วงต้น) ให้ปลูกกวางตุ้ง, พริก, ผักกาดหอม, บวบ, ผักบุ้ง, มะเขือ, แตงกวา หรือกระเจี๊ยบเขียว - ฤดูฝน (ช่วงปลาย) ควรปลูกมะเขือเทศ, ขึ้นฉ่าย, แครอท, พริกหยวก, กะหล่ำปลี, ถั่วลันเตา หรือหอมใหญ่ - ฤดูหนาวควรปลูกมะเขือเทศ, หอมใหญ่, ผักกาดขาว, ถั่วพู, ขึ้นฉ่าย, ผักชี, ตั้งโอ๋ หรือบรอกโคลี |
จากการทำเกษตรกระแสหลักโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำเกษตรเชิงเดี่ยวหรือการผลิตสินค้า เกษตรชนิดเดียว เกิดปัญหาหลายๆด้านคือ วัตถุประสงค์ของการเกษตรผสมผสาน จุดเด่นของการเกษตรผสมผสาน สรุป เกษตรผสมผสาน คือ ระบบการเกษตรที่มีการปลูกพืชและหรือมีการเลี้ยงสัตว์หลายชนิด ในพื้นที่เดียวกัน โดยที่กิจกรรมแต่ละชนิด จะต้องเกื้อกูลประโยชน์ต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสมเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีความสมดุลของสภาพแวดล้อมและเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ เป็นกระบวนการที่มีการจัดการอย่างมีระบบสามารถนำไปบูรณาการใช้ได้กับทุกพื้นที่และทุกภูมิศาสตร์ เป็นแนวคิดที่ทำได้จริง แก้ปัญหาได้จริงและสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้เป็นอย่างดี |
ไม่มีเนื้อหาของข่าวฟีด